หนังสือให้ความยินยอม

หนังสือให้ความยินยอม

วันที่นำเข้าข้อมูล 13 ก.ย. 2565

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 20 ก.พ. 2567

| 1,230 view

หนังสือให้ความยินยอม - เพื่อขอทำหนังสือเดินทางสำหรับผู้เยาว์ (LETTER OF CONSENT) 

ในกรณีที่ บิดา/มารดา พำนักอาศัยหรือทำงานในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และไม่สามารถไปลงนามให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ ในการทำหนังสือเดินทางต่อหน้าเจ้าหน้าที่ที่ประเทศไทยได้ บิดา/มารดา สามารถยื่นคำร้องและขอลงนามในหนังสือให้ความยินยอม ได้ที่สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองดูไบ ได้โดยจัดเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้

กรณีที่ผู้เยาว์ อายุต่ำกว่า 15 ปี

  • บิดาหรือมารดา อย่างน้อย 1 คน ไปลงนามให้ความยินยอมต่อหน้าเจ้าหน้าที่ให้แก่ผู้เยาว์
  • บิดาหรือมารดาที่ไม่สามารถไปลงนามให้ความยินยอมให้แก่ผู้เยาว์ จะต้องมีการจัดทำหนังสือให้ความยินยอมให้แก่ผู้เยาว์ โดยสามารถเข้ามากรอกคำร้องและลงนามต่อเจ้าหน้าที่ ได้ที่สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองดูไบ
  • ผู้ร้องจะต้องส่งหนังสือให้ความยินยอม (ต้นฉบับ) กลับไปยังประเทศไทย เพื่อยื่นต่อเจ้าหน้าที่ที่ประเทศไทยเพื่อขอทำหนังสือเดินทาง

กรณีที่ผู้เยาว์ อายุต่ำกว่า 15 ปี

  • บิดาและมารดา ทั้ง 2 คน ไม่สามารถไปลงนามให้ความยินยอมต่อหน้าเจ้าหน้าที่ให้แก่ผู้เยาว์
  • บิดาและมารดาที่ไม่สามารถไปลงนามให้ความยินยอมให้แก่ผู้เยาว์ จะต้องมีการจัดทำหนังสือให้ความยินยอมให้แก่ผู้เยาว์ โดยสามารถเข้ามากรอกคำร้องและลงนามต่อเจ้าหน้าที่ ได้ที่สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองดูไบ
  • บิดาและมารดาต้องมีการจัดทำหนังสือมอบอำนาจพิ่มเติมเพื่อให้บุคคลอื่น (อายุ 20 ปีขึ้นไป) สามารถพาผู้เยาว์ไปทำหนังสือเดินทางได้ บิดาและมารดาจะต้องส่งหนังสือให้ความยินยอมและหนังสือมอบอำนาจ (ต้นฉบับ) กลับไปยังประเทศไทย เพื่อยื่นต่อเจ้าหน้าที่ที่ประเทศไทยเพื่อขอทำหนังสือเดินทาง

กรณีที่ผู้เยาว์ อายุ 15 - 20 ปี

  • บิดาหรือมารดา ทั้ง 2 คน ไม่สามารถไปลงนามให้ความยินยอมต่อหน้าเจ้าหน้าที่ให้แก่ผู้เยาว์
  • บิดาหรือมารดาที่ไม่สามารถไปลงนามให้ความยินยอมให้แก่ผู้เยาว์ จะต้องมีการจัดทำหนังสือให้ความยินยอมแก่ผู้เยาว์ โดยสามารถเข้ามากรอกคำร้องและลงนามต่อเจ้าหน้าที่ ได้ที่สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองดูไบ
  • ผู้เยาว์สามารถถือหนังสือให้ความยินยอม (ต้นฉบับ) เพื่อยื่นต่อเจ้าหน้าที่ที่ประเทศไทยเพื่อขอทำหนังสือเดินทางได้ด้วยตัวเอง

เอกสารที่ใช้ในการทำหนังสือให้ความยินยอม

  1. แบบคำร้องนิติกรณ์
  2. ใบคำร้องขอทำหนังสือให้ความยินยอม
  3. หนังสือเดินทาง
  4. ใบแสดงการมีถิ่นพำนักในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (Residence Visa) / บัตรประจำตัวเอมิเรตส์ (Emirates ID)
  5. บัตรประจำตัวประชาชนไทย (กรณีเป็นคนไทย)
  6. สำเนาทะเบียนบ้านไทย (กรณีเป็นคนไทย)
  7. สำเนาสูติบัตรของผู้เยาว์
  8. หนังสือแสดงสิทธิปกครองบุตร (ปค.14) หรือบันทึกสอบปากคำเรื่องอำนาจการปกครองบุตร (ถ้ามี)
  9. เจ้าหน้าที่สามารถเรียกเอกสารอื่นๆ เพิ่มเติมได้แล้วแต่กรณี หากมีความจำเป็น เช่น ใบทะเบียนสมรส ใบทะเบียนหย่า ใบเปลี่ยนชื่อ-นามสกุล และเอกสารอื่นๆ

กรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นพาผู้เยาว์ไปทำหนังสือเดินทาง

  1. ใบคำร้องขอทำมอบอำนาจ

เอกสารของผู้รับมอบอำนาจ

  1. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนไทย
  2. สำเนาทะเบียนบ้านไทย

คลิ๊ก >> เพื่อทำการนัดหมาย (สถานกงสุลใหญ่ฯ ขอสงวนพื้นที่เฉพาะผู้จองคิวออนไลน์ก่อนมารับบริการเท่านั้น)

การยื่นเอกสาร

สถานกงสุลใหญ่ฯ เปิดรับคำร้องการทำหนังสือให้ความยินยอม ในวันทำการ (จันทร์ - ศุกร์) เวลา 14.00 - 16.00 น.
ยกเว้นวันหยุดราชการ

ระยะเวลา

สถานกงสุลใหญ่ฯ ใช้เวลาในการตรวจสอบเอกสารโดยประมาณ 2-3 วันทำการ หลังจากวันที่ยื่นเอกสารครบถ้วน

ค่าธรรมเนียมในการทำหนังสือให้ความยินยอม

การทำหนังสือให้ความยินยอม จะมีค่าธรรมเนียม 60 ดีแรห์ม
(ชำระเป็นเงินสดเท่านั้น)

ข้อควรทราบ

  • ในกรณีที่บิดาหรือมารดา มีอำนาจในการปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว (ปค.14) หรือผู้มีอำนาจปกครอง (กรณีรับบุตรบุญธรรมตามคำสั่งศาล) สามารถลงนามให้ความยินยอมได้แต่เพียงผู้เดียวในการทำหนังสือเดินทางให้แก่ผู้เยาว์ โดยผู้ร้องจะต้องส่งหนังสือให้ความยินยอม (ต้นฉบับ) กลับไปยังประเทศไทย เพื่อแสดงต่อเจ้าหน้าที่ที่ประเทศไทย
  • ในกรณีการมอบอำนาจเพื่อให้บุคคลอื่น (อายุ 20 ปีขึ้นไป) สามารถพาผู้เยาว์ไปทำหนังสือเดินทางแทนนั้น ผู้เยาว์ต้องนำสูติบัตร (ตัวจริง) ถ้าผู้เยาว์มีอายุน้อยกว่า 7 ปี หรือบัตรประจำตัวประชาชน (ตัวจริง) ถ้าผู้เยาว์มีอายุมากกว่า 7 ปี แสดงต่อเจ้าหน้าที่ที่ประเทศไทย

 

*** กรุณาเตรียมเอกสารสำคัญให้ครบถ้วนตามที่ระบุข้างต้น สถานกงสุลใหญ่ฯ สงวนสิทธิ์ ในการปฏิเสธการรับคำร้อง หากผู้ยื่นคำร้องยื่นเอกสารสำคัญไม่ครบถ้วน ***