งานจดทะเบียนหย่า

งานจดทะเบียนหย่า

วันที่นำเข้าข้อมูล 13 ก.ย. 2565

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 3 ต.ค. 2567

| 1,478 view

การจดทะเบียนหย่า (DIVORCE CERTIFICATE)

บุคคลสัญชาติไทยที่พำนักอาศัยหรือทำงานในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ที่ได้จดทะเบียนสมรสตามกฎหมายไทย และมีความประสงค์ที่จะขอจดทะเบียนหย่า สามารถมาจดทะเบียนหย่าตามกฎหมายไทยได้ที่ สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองดูไบ ได้โดยจัดเตรียมเอกสารดังต่อไปนี้

เอกสารที่ใช้ในการยื่นคำร้องขอจดทะเบียนหย่าตามกฎหมายไทย

  1. แบบคำร้องนิติกรณ์
  2. ใบคำร้องขอจดทะเบียนหย่า
  3. หนังสือเดินทางของทั้งสองฝ่าย
  4. ใบแสดงการมีถิ่นพำนักในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (Residence Visa) / บัตรประจำตัวเอมิเรตส์ (Emirates ID) ของทั้งสองฝ่าย
  5. บัตรประจำตัวประชาชนไทยทั้งสองฝ่าย (กรณีเป็นคนไทย)
  6. สำเนาทะเบียนบ้านไทยทั้งสองฝ่าย (กรณีเป็นคนไทย)
  7. ใบสำคัญแสดงการจดทะเบียนสมรส - ฉบับจริงของทั้งสองฝ่าย
  8. หนังสือสัญญาการหย่า (ลงนามโดยคู่หย่าทั้งสองฝ่าย) ที่ระบุรายละเอียดการตกลงร่วมกันเรื่องทรัพย์สิน/หนี้สิน อำนาจปกครองบุตร และเรื่องอื่น ๆ (หากมี)
  9. พยาน 2 คน
กรณีพยานคนไทย  กรณีพยานชาวต่างชาติ
  • สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนไทย
  • สำเนาหนังสือเดินทางไทย
  • สำเนาใบแสดงการมีถิ่นพำนักในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์
  • สำเนาหนังสือเดินทาง
  • สำเนาใบแสดงการมีถิ่นพำนักในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์

 

คลิ๊ก >> เพื่อทำการนัดหมาย (สถานกงสุลใหญ่ฯ ขอสงวนพื้นที่เฉพาะผู้จองคิวออนไลน์ก่อนมารับบริการเท่านั้น)

การยื่นเอกสาร

สถานกงสุลใหญ่ฯ เปิดรับคำร้องการขอจดทะเบียนหย่า ในวันทำการ (จันทร์ - ศุกร์) เวลา 14.00 - 16.00 น.
ยกเว้นวันหยุดราชการ

ระยะเวลา

 

สถานกงสุลใหญ่ฯ ใช้เวลาในการตรวจสอบเอกสารโดยประมาณ 3-5 วันทำการ หลังจากวันที่ยื่นเอกสารครบถ้วน

 

ข้อควรทราบ

  • หากผู้ร้องมีความประสงค์ที่จะเปลี่ยนคำนำหน้านาม และ/หรือ นามสกุลของตนตามทะเบียนหย่า ผู้ร้องจะต้องติดต่อสำนักงานเขต/ที่ว่าการอำเภอ ที่ผู้ร้องมีภูมิลำเนาอยู่ที่ประเทศไทย เพื่อสอบถามข้อมูลและขั้นตอนที่เกี่ยวข้อง ทั้งนี้ ผู้ร้องไม่สามารถดำเนินการดังกล่าวที่ สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองดูไบ
  • การหย่าต่างสำนักทะเบียน หมายถึง การหย่าโดยความยินยอมของทั้งสองฝ่าย โดยที่ทั้ง 2 ฝ่ายไม่สามารถเดินทางไปจดทะเบียนหย่าพร้อมกันได้ที่สำนักทะเบียนเดียวกัน เช่น ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งอาศัยอยู่ต่างประเทศ มีขั้นตอนดังต่อไปนี้
  1. ผู้ร้องทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องจัดทำหนังสือสัญญาการหย่าเพื่อตกลงร่วมกันในเรื่อง ทรัพย์สิน/หนี้สิน อำนาจปกครองบุตร ค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตร หรือเรื่องอื่น ๆ (หากมี) โดยจะต้องระบุรายละเอียดดังกล่าวในหนังสือสัญญาการหย่าพร้อมลงลายมือชื่อของผู้ร้องทั้ง 2 ฝ่าย และลายมือชื่อของพยาน 2 คน
  2. ผู้ร้องทั้ง 2 ฝ่ายจะต้องตกลงว่าฝ่ายใดจะเป็นผู้ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนหย่าก่อน (สำนักทะเบียนที่ 1) และฝ่ายใดจะเป็นผู้ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนหย่าหลัง (สำนักทะเบียนที่ 2) โดยแต่ละฝ่ายจะต้องยื่นคำร้อง ณ สำนักงานเขต/ที่ว่าการอำเภอ หรือสถานกงสุลใหญ่ฯ โดยผู้ที่ยื่นคำร้องขอจดทะเบียนหย่าก่อน จะต้องนำหนังสือสัญญาการหย่าและเอกสารประกอบการยื่นขอจดทะเบียนหย่าไปยื่น ณ สำนักทะเบียนที่ 1 เมื่อเสร็จสิ้นขั้นตอนของการยื่นขอจดทะเบียนหย่า สำนักทะเบียนที่ 1 จะจัดส่งเอกสารทั้งหมดไปยังสำนักทะเบียนที่ 2 หลังจากนั้น เมื่อเจ้าหน้าที่จากสำนักทะเบียนที่ 2 ได้รับเอกสารแล้ว จะทำการติดต่อผู้ร้องเพื่อดำเนินการลงลายมือชื่อการจดทะเบียนหย่าในขั้นตอนต่อไป

 

*** กรุณาเตรียมเอกสารสำคัญให้ครบถ้วนตามที่ระบุข้างต้น สถานกงสุลใหญ่ฯ สงวนสิทธิ์ ในการปฏิเสธการรับคำร้อง หากผู้ยื่นคำร้องยื่นเอกสารสำคัญไม่ครบถ้วน ***