บริการกงสุล

บริการกงสุล

วันที่นำเข้าข้อมูล 18 ม.ค. 2561

วันที่ปรับปรุงข้อมูล 30 พ.ย. 2565

| 4,617 view

การทำหนังสือเดินทาง (E-Passport)

บุคคลสัญชาติไทยที่อาศัยและทำงานอยู่ในประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และมีความประสงค์จะทำหนังสือเดินทางใหม่

ท่านสามารถทำเล่มใหม่ได้ที่ สถานกงสุลใหญ่ ณ เมืองดูไบ ได้ในกรณีดังต่อไปนี้

1. หนังสือเดินทางน้อยกว่า 6 เดือน

2. หนังสือเดินทางชำรุด/เสียหาย/ขาดหาย ในส่วนที่เป็นสาระสำคัญ

3. หนังสือเดินทางหาย

4. มีการเปลี่ยนชื่อหรือชื่อสกุลใหม่

สำหรับบุคคลทั่วไป

เอกสารหลักในการยื่นคำร้องขอหนังสือเดินทาง

1. แบบคำร้องนิติกรณ์ แบบที่2 download

2. หนังสือเดินทางเล่มเดิม

3. ใบแสดงการมีถิ่นพำนักในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (Residence Visa)

4. บัตรประจำตัวประชาชน

5. สำเนาใบเปลี่ยนชื่อและนามสกุล (หากมี)

6. สำเนาทะเบียนสมรส/ทะเบียนหย่า (หากมี)

ข้อควรทราบ

1. กรณีที่หนังสือเดินทางสูญหาย ต้องมีใบแจ้งความจากเจ้าหน้าที่ตำรวจที่ออกโดยสถานีตํารวจ

โดยจะต้องระบุชื่อ/เลขที่หนังสือเดินทาง/วันเวลาที่หาย จากสถานีตํารวจ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ รับรองการหาย

2. ผู้ยื่นคำร้องต้องมาติดต่อด้วยตนเองที่สถานกงสุลใหญ่ฯ เท่านั้น เนื่องจากจะต้องมีการเก็บข้อมูลชีวภาพ ได้แก่ ลายนิ้วมือ และภาพถ่ายของผู้ร้อง

ช่วงเวลาทำการของหนังสือเดินทาง 14.00-16.00 น. ค่าธรรมเนียมประมาณ 130-150 ดีแรมห์ ใช้ระยะเวลาในการดำเนินการ 3-4 สัปดาห์

เนื่องจากต้องส่งคำร้องและข้อมูลกลับไปที่ประเทศไทยเพื่อผลิตเล่ม

 

สำหรับผู้เยาว์ (อายุต่ำกว่า 20 ปีบริบูรณ์)

เอกสารหลักในการยื่นคำร้องขอหนังสือเดินทาง

1. แบบคำร้องนิติกรณ์ แบบที่2 download

2. สูติบัตรไทย

3. หนังสือเดินทางเล่มเดิม (หากมี)

4. ใบแสดงการมีถิ่นพำนักในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (Residence Visa)

5. บัตรประจำตัวประชาชนของผู้เยาว์ (หากมี)

6. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้เยาว์ (หากมี)

7. หนังสือเดินทางของบิดาและมารดา (กรณีที่เป็นชาวต่างชาติ)

8. ใบแสดงการมีถิ่นพำนักในสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (Residence Visa) ของบิดาและมารดา

9. บัตรประจำตัวประชาชนของบิดาและมารดา (กรณีที่เป็นคนไทย)

10. สำเนาทะเบียนบ้านของบิดาและมารดา

11. ใบทะเบียนสมรส

12. สำเนาใบเปลี่ยนชื่อและนามสกุล (หากมี)

13. บิดาและมารดา จะต้องมาด้วยตนเอง ในวันที่ทำหนังสือเดินทางของผู้เยาว์

 

กรณีอื่นๆ ที่จะต้องมีคำสั่งศาลซึ่งระบุชื่อผู้มีอำนาจปกครอง

• กรณีบิดาและมารดาเสียชีวิต จะต้องนำใบมรณบัตรมาแสดง

• กรณีบิดาหรือมารดาของผู้เยาว์เป็นชาวต่างชาติ มิได้จดทะเบียนสมรส และไม่สามารถตามหาอีก ฝ่ายหนึ่งมาให้คำยินยอมได้

• กรณีบิดามารดาของผู้เยาว์มิได้จดทะเบียนสมรส แต่ผู้เยาว์อยู่ในความดูแลของบิดาหรือมารดาฝ่ายเดียวมาตลอด โดยไม่สามารถติดต่ออีกฝ่ายได้

• กรณีที่มีการหย่า จะต้องนำใบหย่ามาแสดง โดยต้องมีข้อความที่ระบุชัดเจนถึง อำนาจในการปกครองบุตรแต่เพียงผู้เดียว